วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิวัฒนาการของมนุษย์

    วิวัฒนาการของมนุษย์
           วิวัฒนาการ ในความหมายทั่วไป หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่ง  ในลักษณะจองการค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับขึ้นโดยอาศัยระยะเวลาอันยาวนาน  วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยจากสิ่งมีชีวิตดั้งเดิมสืบต่อกันมาจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน  ที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตดั้งเดิมอันเป็นผลจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม  ดอบซานสกี (Dobzhansky)  นักพันธุศาสตร์และวิวัฒนาการชาวรัสเซีย ได้กล่าวไว้ดังนี้  “วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต  คือกระบวนการเปลี่ยนแปลง
ส่วนประกอบของพันธุกรรมของประชากรที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน  โดยการเปลี่ยนแปลงนี้อาจเกิดขึ้นเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดอันเป็นผล มาจากปฏิกิริยาที่สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม  กระบวนการนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะไม่มีกาย้อนกลับเป็นอย่างเดิมอีก”
                              

วิวัฒนาการของมนุษย์(evolution)
             เมื่อประมาณ 20 ล้านปีที่ผ่านมา  เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม  โดยมีทุ้งหญ้าขึ้นมาทดแทนป่าที่อุดมสมบูรณ์   ทำให้สิ่งมีชีวิตหลายชนิด  มีวิวัฒนาการมาดำรงชีวิตบนพื้นดินมากขึ้น  จากหลักการซากดึกดำบรรพ์และการเปรีบยเทียบลำดับเบสบน DNA ระหว่างมนุษย์และชิมแปนซี  พบว่ามนุษย์แยกสายวิวัฒนาการจากลิงไม่มีหางเมื่อประมาณ 7-5 ล้านปีที่ผ่านมา                                                                                                                              
          ตามการจำแนกแบบอนุกรมวิธาน นักชีววิทยาได้จัดให้มนุษย์อยู่ในหมวดหมู่ต่อไปนี้
 Kingdom         Animalia
 Phylum Chordata 
 Class Mammalia 
 Order Primate 
 Family Hominidae 
 Genus Homo 
 Spicies Homo  sapiens
           
            จากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์  นักบรรพชีวินได้คาดคะเนลำดับขั้นตอนการสืบสายวิวัฒนาการของมนุษย์ได้  ดังนี้
                 

           ออร์เดอร์ ไพรเมต (Primate)เป็นออร์เดอร์หนึ่งในจำนวนทั้งหมด 17 ออร์เดอร์ในคลาสแมมมาเลียการจำแนกสัตว์อยู่ในออร์เดอร์นี้ขึ้นอยู่กับลักษณะหลายๆลักษณะมารวมกันซึ่งเป็นลักษณะที่เป็นผลมาจากวิวัฒนาการของสัตว์พวกนี้ในการอาศัยอยู่บนต้นไม้ ทำให้มีลักษณะมือขาและการใช้ประสาทรับความรู้สึกต่างๆให้เข้ากับการดำรงชีวิตในสิ่งเเวดล้อมดังกล่าวแต่มีวิวัฒนาการของบางลักษณะที่เป็นผลจากวิวัฒนาการในช่วงหลังๆที่เป็นไปเพื่อการดำรงชีวิตอยูบนพื้นดิน  ลักษณะของออร์เดอร์ไพรเมต คือมีนิ้ว 5 นิ้ว ปลายนิ้วมีเล็บแบน นิ้วยาว นิ้วหัวแม่มือพับขวางกับนิ้วอื่นได้ดี สมองใหญ่ จมูกสั้น ตาชิดกัน (ทำให้สามารถมองภาพจากสองตามาซ้อนกันเกิดเป็นภาพสามมิติซึ่งดีต่อการดำรงชีวิตอยู่บนต้นไม้)ขากรรไกรห้อยต่ำในออร์เดอร์ไพรเมตมีสมาชิกทั้งหมด 180 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลก ได้เเก่ มนุษย์ ลิงลม ลิงทาเซียร์ ลิงแสม ลิงมาโมเซต กอริลลา ชิมแพนซี และอุรังอุตัง

            ลักษณะสำคัญของแฟมิลีโฮมินิดี(Hominidae) คือมีเขี้ยวเล็กและอยู่ในระดับเดียวกับฟันอื่นๆ เดิน 2 ขา เนื่องจากเปลี่ยนวิถีชีวิตจากบนต้นไม้มาสู่พื้นดิน แต่ก่อนเคยคิดว่าประกอบด้วย  จีนัสคือ รามาพิเทคัส
มนุษย์วานร มีรูปร่างค่อนข้างเล็ก สูงประมาณ1 - 1.5 เมตร และหนักประมาณ 68 กิโลกรัม มีโครงกระดูกที่แข็งแรง และรูปแบบของฟันคล้ายมนุษย์ในปัจจุบัน บริเวณลำคัว อาจไมีมีขน ขณะวิ่งลำตัวจะตั้งตรง อยู่กันเป็นกลุ่ม20-30 คน สามารถใช้หินหรือ เครื่องมือง่ายๆ เช่น กระดูกบสัตว์ สำหรับล่าสัตว์ชนิดต่างๆ เป็นอาหารได้ นักวิทยาศาสตร ์ได้ ้ขุดพบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ พวกนี้ที่บริเวณตอนใต้และตะวันออกของทวีปแอฟริกา จึงให้ชื่อว่า Australpithecus africanus ต่อมาจึงพบมนุษย์วานรพวกนี้อีก มีรูปร่างและขนาดใหญ่กว่าA.africanus จึงเรียกว่า A.robustus มนุษย์วานรชนิดนี้มีขากรรไกรขนาดใหญ่เทอะทะแสดงให้เห็นว่ากินพืชเป็นอาหาร จนกระทั่ง ค.ศ.1947Donald   Joanson ก็ได้ค้นพบมนุษย์วานรพวกนี้อีกชนิดหนึ่งบริเวณทางตินเหนือของประเทศเอธิโอเปีย
มีชื่อเรียกว่า A.afarensis ซึ่งถือว่ามี ความใกล้ชิดกับบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบันมาก  Genus Homoเป็นไพรเมตที่สามารถประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีวิตได้แล้วถือว่าเป็นกลุ่มที่มีวิวัฒนาการสูงที่สุด ได้แก่ มนุษย์ในปัจจุบัน ซึ่งมีสายวิวัฒนาการมาจากวานร แล้วเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับ ดังนี้

                1)Homo habilis เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของมุษย์ ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ชนิดนี้ที่บริเวณภาค ตะวันออกของแอฟริกา มีอายุประมาณ 2-4 ล้านปี มีขนาดสมองประมาร 800 ลูกบาศก์เซนตเมตร และมีฟันที่แสดงให้เห็นว่ากินเนื้อสัตว์ เป็นอาหารด้วย จึงจัดเป็นผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า มนุษย์ ชนิดนี้อาจจะยังมีขนแบบลิงอยู่แต่อย่างไรก็ตาม พบว่ามนุษย์ชนิดนี้เป็นมนุษย์พวกแรกที่รู้จักการใช้หินมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือหรือเครืองใช้ในการดำรงชีวิตได้
                2)Homo  erectus เป็นมนุษย์ที่มีใบหน้าตั้งตรงเหมือนมนุษย์ยุคใหม่แล้ว มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรง โดยขากรรไกรจะเริ่มหดสั้นกว่า  Homo habilis ส่วนของกะโหลกซึ่งกว้างที่สุดอยู่ที่ระดับรูหู มีขนาดสมองประมา1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร เชื่อกันว่ามนุษย์ชนิดนี้ไม่มีขนแบบลิงแล้ว และมีการกระจายตั้งแต่แอฟริกาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และยุโรป มนุษย์ยุคนี้เริ่มรู้จักการใช้ไฟ และประดิษฐ์ เครื่องมือต่างๆ จากก้อนหินได้ดีขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงจัดให้เป็นมนุษย์แรกเริ่ม(Early  man) ที่รู้จักกันดีก็คือมนุษย์ชวา (Java ape man)และมนุษย์ปักกิ่ง(Peking man) สำหรับมนุษย์ปักกิ่งนั้นถูกค้นพบซากอยู่ที่ถ้ำ จูกูเทียน(Zhoukoudian)ทางตอนเหนือของประเทศจีน ทำให้ทราบว่ามนุษย์ยุคนี้รู้จักการใช้ไฟ มีการล่าสัตว์โดยใช้ขวานหิน และในบางครั้งมนุษย์ปักกิ่งเป็นพวก
ที่กินเนื้อมนุษย์พวกเดียวกันอีกด้วย
                3).Homo sapiens neanderthalensis  หรือ มนนุษย์ดีแอนเดอร์ทัล  เป็นมนุษย์ที่พบว่ามีชีวิตอยู่ในช่วงทีน้ำส่วนใหญ่ของโลกกลายเป็นน้ำแข็งโดยซากดึกดำบรรพ์ที่พบมีอายุประมาณ 1 แสน ถึง 1 ล้านปี มีขนาดสมองประมาณ 1450 ลูกบาศก์เซนติเมตร ส่วนของกะโหลกซึ่งกว้างที่สุดอยู่ที่ระดับเหนือรูหู มีขากรรไกรล่างสั้นลักษณะหน้าผากเป็นสันนูนและลาดกว่ามนุษย์ในปัจจุบันสามารถยืนโดยลำตัวตั้งตรงรู้จักการใช้ไฟ การล่าสัตว์ รูจักประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆโดยใช้หินคนที่ตายแล้วจะถูกนำไปฝังพร้อมกับช่อดอกไม้ อาหาร และอาวุธ มนุษย์พวกนี้รู้จักการหาที่อยู ่ อาศัยทั้งในถ้ำ หุบเขา หรือที่ราบ พบกระจายในบริเวณต่างๆกว้างขวางมากตั้งแต่ยุโรปตะวันออกกลาง แอฟริกา ไปจนถึงประเทศจีน
                4).Homo  sapiens  sapiens หรือ มนุษย์โครมายอง(Cro - Magnon man) มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับมนุษย์ปัจจุบัน กล่าวคือ มีกะโหลกศีรษะโค้งมน มากขึ้น ขากรรไกรหดสั้นลงกว่ามนุษย์นีแอนด์เดอร์ทัลมาก และแก้มนูนเด่นชัดขึ้น แม้ว่ามนุษย์ ชนิดนี้จะมีใบหน้าเล็กแต่ก็มีสมองขนาดใหญ่ประมาณ 1300-1500 ลูกบาศก์เซนติเมตรซึ ่งมีความเฉลียวฉลาดสามารถประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆสำหรับดำรงชีพและรู้จักการเขียนภาพต่างๆด้วยจากการศึกษาพบว่ามนุษย์โครมายองมีชีวิตอยู่ใน ช่วงประมาณ 50000 ปีมาแล้ว
                                                    

            จากการศึกษา การกระจายของมนุษย์ในอดีต พบว่ามนุษย์วานร พวก Australopihecus sp.อาศัยอยู่ในแถบเอธิโอเปีย ทนวาเนีย และเคนยา ซึ่งเป็นแถบตะวันออกของทวีปแอฟริกา ส่วนพวกมนุษย์ที่แท้จริงพวกแรกๆ คือ Homo habilis และ Homo erectus พบว่ามีการกระจายเป็นบร ิเวณกว้างกว่า กล่าวคือ พบทั้งในแถบตะวันออกและทางใต้ของทวีปแอฟริกา ยุโรป จีน และอินดดนีเซีย สำหรับมนุษย์นีแอนด์เดอร์ทัลนั้นพบซากดึกดำบรรพ์ค่อนข้างมากในทวีปยุโรปเมื่อศึกษาเปรียบเทียบกะโหลกของไพรเมตตั้งแต่ยุคแรกๆจนกระทั่งถึงมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ก็พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณ ะต่างๆ หลายประการ เช่นรูปทรง ลักษณะขนาดและสัดส่วนต่างๆของกะโหลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยาว และขนาดของขากรรไกร ลักษณะของหน้าผาก และรูปแบบการ จัดเรียงตัวของฟัน เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สายวิวัฒนาการต่อเนื่องกันเป็นลำดับ
             การศึกษาเรื่องราววิวัฒนาการของมนุษย์เป็นเวลายาวนานทำให้มนุษย์วิทยาอธิบายถึงความเกี่ยวโยงกันของบรรพบุรุษมนุษย์ในอดีตเป็นลำดับมาจนถึงปัจจุบันได้ โดยเชื่อกันว่าในช่วงเวลาประมาณ 15 ล้านปีมาแล้วนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกจนเกิดเป็นRamapithecusซึ่งเป็นมนุษย์วานรยุคแรกๆที่เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างไพรเมตกับบรรพบุรุษของมนุษย์ในเวลาต่อมามนุษย์วานรพวกนี้อาศัยอยู่ในที่โล่งแจ้งหรือตามชายป่า  กินพืช  ผัก  ผลไม้เป็นอาหารยังมีพฤติกรรมคล้ายลิงไม่มีหางอยู่มาก ต่อมาจึงวิวัฒนาการเป็นพวกAustralpithecus  ชนิดต่างๆซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงประามาณ 5 ล้านปีมาแล้วมนุษย์วานรพวกนี้เริ่มเดินด้วยลำตัวที่ตั้งตรงได้ดีขึ้นช่งวยให้มองเห็นผู้ล่าแ ละเหยื่อได้อย่างมีประสิธิภาพ แต่ยังมีลักษณะโบราณอยู่คือมีขากรรไกรขนาดใหญ่ หน้าผากลาดไปด้านหลัง ขนาดสมองยังเล็กเมื่อเทียบกับใบหน้าขนาดใหญ่ พวกเขาสามารถล่าสัตว์กินเป็นอาหาร ซึ่งนับเป็นจุดหักเหสำคั ที่มนุษย์วานรเปลี่ยนแปลงจากการกินพืชผักมาเป็นกินเนื้อสัตว์ด้วย ต่อมาประมาณ 2 ล้านปีที่ผ่านมาจนถึงยุคของบรรพบุรุษของมนุษย์ คือ Homo habilsซึ่งรู้จักการตั้งถิ่นฐานมากขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่เพศชายออกล่าอาหารเพศหญิงก็ดูแลลูกอ่อน รักษาผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือออกหาผลไม้ มนุษย์ยุคนี้เริ่มมีความผูกพันธ์ต่อกันเป็นสังคม  เริ่มต้นที่มีการเลือกคู่ไม่สมสู่กันเหมือนไพรเมตชนิดอื่นๆ  เมื่อมาถึงยุคของ Homoerectus  ซึ่งถือว่าเป็นมนุษย์แรกเรื่มนั้น วิวัฒนาการขยองมนุษย์ก้าวไปมากขึ้น รู้จักการใช้ไฟ เพื่อสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นในยุคนั้นรู้จักการใช้หอกไม้ในการล่าสัตว์ใหญ่ๆเช่น กวาง ม้า รู้จักการหุงต้มอาหารให้สุก รู้จักการใช้หนังสัตว์ เป็นเครื่องนุ่งห่ม จนกระทั่งเมื่อ 3 แสนปีที่ผ่านมาจนถึงยุคของมนุษย์ยุคใหม่ คือ  Homo sapiens ซึ่งได้พัฒนารูปแบบสมองใหมีขนาดใหญ่ขึ้น แม้จะมีใบหน้าเล็กก็ตาม ส่วนของขากรรไกรสั้นลง หน้าผากเกือบตั้งตรง  ทำให้รูปโฉมใบหน้าเปลี่ยนไปจากเดิม นอกจากนี้ยังสามารถทรงตัว และเคลื่อนที่ด้วยขา 2 ขาในขณะที่ลำตัวตั้งตรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 สำหรับมนุษย์ในปัจจุบันนั้น นักมนุษยวิทยาพบว่า มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากมนุษย์ในอดีตอยู่หลายประการ คือ
     1.ยืนตัวตรง เคลื่อนที่ด้วยขา 2 ขา ช่วงขายาวกว่าช่วงแขน
     2.หัวแม่มือสั้นและงอ พับเข้ามาที่อุ้งมือได้ สามารถงอนิ้วทั้ง 4 ได้ จึงใช้จับ ดึง ขว้าง ทุบ ฉีก แกะ และทำกิจกรรมต่างๆได้ รวมทั้งการออกแบประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ได้
     3.กระดูกคอต่อจากใต้ฐานหัวกะโหลก กระดูกสันหลังโค้งเล็กน้อย เป็นรูปตัว เอสและสมองมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับร่างกาย หน้าสั้นแบน หน้าผากค่อนข้างตั้งตรงขากรรไกรสั้น
     4.กระดูกสะโพกกว้าง ใหญ่และแบนให้กล้ามเนื้อเกาะเพื่อให้ลำตัวตั้งตรงเท้าแบนร่างกายไม่ค่อยมีขนแนวฟันโค้งเกือบเป็นรูปครึ่งวงกลม

                                                   

              การศึกษาค้นคว้าเปรียบเทียบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ในอดีต    นอกจากทำให้นักมนุษยวิทยาทราบความเป็นมา ของบรรพรุษมนุษย์ในอดีตแล้ว  ยังทำให้สามารถอธิบายถึงความเป็นอยู่ และการดำลงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละยุดได้อีกด้วย  คือ
      1.  การอยู่เยี่ยงเดรัจฉาน ( savagery ) เป็นยุดที่มนุษย์เพศชายยังทำหน้าที่ล่าสัตว์และแสวงหา พืช  ผัก ผลไม้เป็นอาหารตามธรรมชาติ  แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
           1.1  ระยะก่อนรู้จักใช้ไฟและภาษา  ตรงกับยุดหินเช่นเก่า  ( Eolithic )  พบในมนุษย์พวก Homo  habilis
           1.2  ระยะรู้จักใช้ไฟและภาษา   ตรงกับเก่าเช่นกัน  มนุษย์พวกนี้รู้จักใช้ถํ้าเป็นที่อยู่  อาศัย  ได้แก่  พวกมนุษย์  Homo   erectus  ซึ่งก็คือ มนุษย์ชวาและ
มนุษย์ปักกิ่ง นั้นเอง
           1.3  ระยะรู้จักประดิษฐ์ธนูและลูกศร  ตรงกับยุดหินกลาง มนุษย์พวกนี้รู้จักการใช้หนังสัตว์เป็นเครื่องนุ่งห่มได้แก่ มนุษย์Homo  sapiens
      2.การอยู่อย่างป่าเถื่อน(Babarism)เป็นบยุคที่มนุษย์รู้จักการใช้โลหะทำเครื่องมือ ทำการเกษตรกรรม  ทอผ้า  สังคมในยุคนี้มีระบบทาส  เพศชายมีภรรยาได้
หลายคน   และทำหน้าที่ปกครอง  ส่วนเพศหญิงทำหน้าที่เป็นแม่บ้านแบ่งเป็น 3 ระยะคือ
           2.1ระยะแรกประมาณ 12000 ปีมาแล้ว ยุคนี้มนุษย์รู้จักการปลูกบ้านสร้างเรือนเพื่ออยู่อาศัย รู้จักใช้ขวานมีด้ามและใช้เครื่องปั้นดินเผา
           2.2ระยะกลางประมาณ 10000 ปีมาแล้วมนุษย์ยุคนี้รู้จักการเลี้ยงสัตง์การเกษตรกรรมรู้จักใช้สัตว์ช่วยในการไถนาหรือบรรทุกสิ่งของ
           2.3ระยะหลังประมาณ 7000ปีมาแล้ว มนุษย์รู้จักใช้โลหะทำอาวุธหรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
      3.การอยู่อย่างมีอารยธรรม(Civilization)เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรง มีการใช้ตัวอักษรในการสื่อความหมาย สังคมเปลี่ยนจากเกษตรกรรม
เป็นอุตสาหกรรม
                ผลจากการวิวัฒนาการในยช่วงเวลายาวนาน ทำให้มนุษย์ในปัจจุบันมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันไปหลายแบบ ทั้งในแง่ของเส้นผม รูปร่าง ใบหน้า ความสูง รูปทรงศีรษะ หรือแม้กระทั่งสีผิว ทั้งๆที่ต่างก็เป็นสปีชีส์เดียวกัน มานุษยวิทยามีความเชื่อว่าในอดีตนั้นมนุษย์มีผิวสีเข้มเพียงสีเดียวเนื่องจากไม่มีขนหนาๆปกคลุมร่างกายเหมือนไพรเมตอื่นๆ จึงต้องมีผิวสีเข้ม เพื่อป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิคตย์ ต่อมาเมื่อมนุษย์มรการกระจายพันธ์ไปยังบริเวณต่างๆทั่วโลกโดยเฉพาะในบริเวณที่มีสภาพภูมิอากาศอบอุ่นหรือเขตหนาวซึ่งได้รับแสงอาทิตย์น้อยกว่าเขตร้อนมากมนุษย์จึงมีการปรับตัวที่ละน้อยๆกลายเป็นมนุษย์ที่มีสีผิวแตกต่างกัน
       1.เผ่าคอเคซอยด์(Caucasoid)มีหนวดเคราและขนตามตัวดก จมูกโด่ง มีสีผิวอ่อน ได้แก่มนุษย์ที่อาศัยในแถบยุโรปและชาวอาหรับ
       2.เผ่ามองโกลอยด์(Mongoloid)มีหนวดเคราและขนตามตัวน้อย จมูกแฟบ โหนกแก้มสูง ตาชั้นเดียว มีผิวสีเห,ืองหรือสีน้ำตาล ได้แก่ มนุษย์แถบเอเชีย
และชาวเอสกิโม
       3.เผ่านีกรอยด์(Negroid)มีผมหยิก ผิวดำ จมูกแฟบ ริมฝีปากหนา ได้แก่พวกปิกมี ZPigme)หรือพวกที่อยู่ทางใต้ทะเลทรายซาฮารา
       4.เผ่าออสเตรลอยด์(Australoid)มีขนและเคราดำ ผมหยิก ผิวดำ ได้แก่ชนพื้นเมืองของออสเตรเลีย และหมู่เกาะฟิลิปปินส์
          
              จะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการของมนุษย์นั้นไม่หยุดนิ่ง มนุษย์รู้จักใช้เหตุผลเพื่อปรับปรุงการดำรงชีพให้เหมาะสม สามารถสร้างเครื่องมือนานาชนิดในการดำรงชีพมนุษย์รู้จักคิดและใช้ปัญยาในการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์โดยอาศัยปัญหาในอดีตเป็นแนวทางเพื่ออนาคต   รู้จักริเริ่มการมีภาษาพูด   ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนาและจริยธรรมเมื่อรวมกลุ่มเป็นสังคมก็มีวัฒนธรรมแตกต่างกันไป ตามแต่ละท้องถิ่นวสืบทอด หลายบชั่วอายุตลอดมา    มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน


           
 นักวิทยาศาสตร์ ชื่อ ทีดอบฮานสกี(T. Dobhansky)ได้ให้ความเห็นว่ามนุษย์ ยังมีวิวัฒนาการอยู่ แต่ในทางชีวภาพก็ยังไม่ทราบว่าจะเป็นวิวัฒนาการไปในทิศทางใด  นอกจากทางชีวภาพแล้ว มนุษย์ยังมีวิวัฒนาการในทาง วัฒนธรรมอีกด้วย นก ค้างคาว หรือแมลง กว่าจะวิวัฒนาการเป็นสัตว์ที่บินได้ต้องอาศัยเวลาปรับตัวทางยีนเป็นเวลานับล้านปี แต่มนุษย์ก็สามารถ บินได้เช่นกัน ดดยเครื่องบินชนิดต่างๆ โดยไม่ต้องสร้างยีนขึ้นมาใหม่ และยังมีความก้าวหน้าในการคิดค้นประดิษฐ์เคื่องมือเครื่องใช้มากมายหลายชนิด การวิวัฒนาการ ทางวัตถ ุต่างๆก็อาจมีผลทำให้เกิดวิวัฒนาการทางชีวภาพไปด้วย ผลของการวิวัฒนาการต่อไปในโอกาสข้างหน้าก็เป็นเรื่องที่อาจคาดคะเนได้แต่จะเป็นไปตามการคาดคะเน หรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องที่จะต้องติดตามกันต่อไปค่ะ

มนุษย์มีวิวัฒนาการมาในกลุ่มเดียวกันกับไพรเมทส์ อันได้แก่ กระแต ลิงลม ลิงเอพ ไพเมทส์มีสมองใหญ่และเจริญกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น บางพวกมีหางยาว แขนยาวกว่าขา ทั้งแขน ขา ใช้ประโยชน์ในการห้อยโหนตัวจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง
        คนกับลิงมีบรรพบุรุษมีบรรพบุรุษร่วมกัน ไม่มีหาง แต่ลิงจะมีแขนยาวกว่าขา จากเริ่มต้นในบรรพบุรุษร่วมระหว่างคนกับลิงจะมีวิวัฒนาการไปหลายสาย คือ ชะนี อุรังอุตัง กอริลลา ชิมแพนซี และมนุษย์คล้ายลิงใหญ่
        มนุษย์ยุคปัจจุบันกระดูกสันหลังจะตั้งตรง คอตั้งตรง เพราะกระดูกคอต่ออยู่ใต้ฐานกะโหลก มีกล้ามเนื้อที่ยึดบริเวณท้ายทอยช่วยรับน้ำหนักศีรษะ ศีรษะจึงไม่ยื่นไปข้างหน้า ทำให้แตกต่างจากกอริลลาที่ทรงตัวไม่ดี อีกทั้งกระดูกสันหลังโค้งงอจนต้องใช้แขนที่ยาวช่วยพยุงในการเดิน ในขณะที่มนุษย์สามารถยืนได้บนขาทั้งสองขาโดยที่ไม่ต้องใช้แขนช่วย ช่วงขามนุษย์จะยาวกว่าช่วงแขน ทำให้เดินตัวตรงได้
        เมื่อนำลักษณะต่าง ๆ ระหว่างกอริลลา ซึ่งเป็นลิงขนาดใหญ่ที่ไม่มีหางมาเปรียบเทียบกับมนุซย์ จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จึงไม่สามารถบอกได้ว่า " มนุษย์มีวิวัฒนาการมาจากลิง "  อีกทั้งยังไม่มีการค้นพบซากบรรพบุรุษร่วมระหว่างคนกับลิง จึงสันนิษฐานกันว่า วิวัฒนาการของมนุษย์น่าจะต่างจากกอริลลา
        วิวัฒนาการของมนุษย์กับลิง มีวิวัฒนาการมาคนละสายพันธุ์ โดยที่อาจจะมีบรรพบุรุษร่วมกัน แต่ยังไม่สามารถหาหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ร่วมนี้
        จากหลักฐานที่ได้จากซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์เท่าที่เคยพบ ได้พบว่าปัจจุบันมนุษย์ได้มีการวิวัฒนาการมาจากมนุษย์วานร แล้ววิวัฒนาการเปลี่ยนไปเป็นมีกะโหลกศีรษะและสมองใหญ่ขึ้น จึงแบ่งสายพันธุ์การวิวัฒนาการของมนุษย์ออกเป็น มนุษย์วานร บรรพบุรุษมนุษย์ มนุษย์แรกเริ่มจนมาถึงมนุษย์ปัจจุบัน
        มนุษย์วานร คือ มนุษย์ในสปีชีส์ ออสตราโลพิธีคัส ซากดึกดำบรรพ์พบว่ามีการแพร่กระจายอยู่ในแอฟริกา มีอายุระหว่าง 3-5 ล้านปี ขนาดมันสมองเล็กประมาณ 400-600 ลูกบาศก์เซนติเมตร ทั่วลำตัวมีขนปลกคุม สูงไม่มากประมาณ 120 เซนติเมตร สามารถใช้หินทำเครื่องมือ แต่ยังไม่รู้จักประดิษฐ์เครื่องมือหรือการสะสมเครื่องมือ
        บรรพบุรุษมนุษย์ หรือ มนุศย์พวกโฮโมแฮบิลิส พวกนี้สามารถประดิษฐ์อาวุธ หรือเครื่องมือแบบหินกระเทาะใช้ไม้ กระดูก เขาสัตว์ในการล่าสัตว์ขึ้นใช้ มนุษย์พวกนี้มีอายุประมาณ 3-4 ล้านปีมาแล้ว ขนาดมันสมองประมาณ 800 ลูกบาศก์เซนติเมตร
        สายพันธุ์มนุษย์ระยะแรก หรือพวกโฮโฒอิเลคตัส  เช่น พวกมนุษย์ชวา มนุษย์ปักกิ่ง พวกนี้สามารถประดิษฐ์เครื่องมือ ขวานหินไม่มีด้าม รู้จักใช้ไฟและอาศัยอยู่ในถ้ำ แต่สูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อ ประมาณ 500,000 ปีก่อน ขนาดมันสมองประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
        สายพันธุ์มนุษย์ปัจจุบัน หรือพวกโฮโม เซเปียนส์ มีอายุแรกเริ่มเมื่อประมาณ 200,000 ปีท่แล้ว พวกนี้ใช้อาวุธที่ทำด้วยโลหะ มีภาพวาดตามผนังถ้ำ มีขนาดมันสมองประมาณ 1,100-1,200 ลูกบาศก์เซนติเมตร พบซากมนุษย์นีนเดอร์ธัล และมนุษย์โครมายอง

เปรียบเทียบลักษณะกระโหลกและฟัน ของ ลิงชิมแปนซี(ซ้าย)A.afarensis(กลาง) และมนุษย์ปัจจุบัน(ขวา)

                                    

ฟอสซิล"เด็ก3ล้านปี" คลี่ปมวิวัฒนาการมนุษย์

คณะนักล่าฟอสซิลหรือโครงกระดูกดึกดำบรรพ์ ขุดค้นพบกะโหลกและโครงกระดูก
ของเด็กหญิง วัย 3 ขวบ ที่มีชีวิตอยู่บนโลกมนุษย์เมื่อ 3.3 ล้านปีก่อน นับเป็นครั้งแรก
ที่นักวิทยาศาสตร์พบฟอสซิลกระดูกบรรพบุรุษของมนุษย์ในวัยเด็ก ซึ่งจะช่วยเติมเต็มไข
ปริศนาความรู้ด้าน "วิวัฒนาการของมนุษย์" ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นต่อไป 

"ซีแลม" เด็กอายุ 3 ล้านปี 

วงการมานุษยวิทยาและมานุษยวิทยากายภาพระดับสากล ต่างตื่นเต้นกับรายงาน
การค้นพบซากฟอสซิลในสภาพเกือบสมบูรณ์ของ "เด็กหญิง" ซึ่งเชื่อว่าเป็นหนึ่ง
ในบรรพบุรุษของมนุษย์ และตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ ฉบับล่าสุด (2006)

ดร.เซเรเซเนย์ อาเล็มเซเก็ด นักวิชาการชาวเอธิโอเปีย สังกัดสถาบันแม็กพลางก์
 เมืองลิปซิก ประเทศเยอรมนี ผู้นำทีมนักวิทยาศาสตร์ขุดพบ ฟอสซิลเด็กหญิงในครั้งนี้
 เปิดเผยว่า 

จุดขุดพบฟอสซิล ฝังอยู่ใต้ชั้นหินทรายในอาณาบริเวณทะเลทรายดิคิกา
เขตอะฟาร์ ประเทศเอธิโอเปีย ทวีปแอฟริกา 





ทีมผู้ค้นพบ ตั้งชื่อฟอสซิลเด็กที่พบนี้ว่า "ซีแลม" ซึ่งในภาษาเอธิโอเปียแปลว่า
 "สันติภาพ" ชิ้นส่วนที่พบประกอบด้วยหัวกะโหลก ฟันน้ำนม นิ้ว กระดูกช่วงลำตัว
 เท้า กระดูกสะบ้าหัวเข่า 

ผลวิเคราะห์หาอายุจากกระดูกโดยดร.โจนาธาน ไวน์ จากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดรูว์
 ชี้ว่า ซีแลม เสียชีวิตเมื่อประมาณ 3.3-3.8 ล้านปีก่อน เพราะเหตุอุทกภัยครั้งใหญ่
 ขณะมีอายุเพียง 3 ปี เป็นบรรพบุรุษมนุษย์จัดอยู่ในกลุ่ม "ออสตราโลพิเทคัส อะฟาเรนซิส"
(เอ. อะฟาเรนซิส)



ลูกของ "ลูซี่ย์" 

ชื่ออย่างไม่เป็นทางการของ ซีแลม คือ "ลูกของลูซี่ย์" "ลูซี่ย์"
ซึ่งหมายถึง ซากฟอสซิลบรรพบุรุษมนุษย์วัยผู้ใหญ่ยุคแรกๆ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก
ในวงการมานุษยวิทยากายภาพ และทุกวันนี้ฟอสซิลลูซี่ย์ อายุ 3.2 ล้านปี
ถูกเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเอธิโอเปีย 




ย้อนกลับไปปี 2517 ดร.โดนัลด์ โจฮันสัน นักวิทยาศาสตร์สหรัฐ และคณะ
 ร่วมกันขุดพบฟอสซิลลูซี่ย์ ในเขตฮาดาร์ของเอธิโอเปีย ซึ่งห่างจากจุด
ที่ทีมของเซเรเซเนย์พบ ซีแลม เพียง 4 กิโลเมตรเศษ

ชื่อของลูซี่ย์ มีที่มาจากเพลง "ลูซี่ย์ อิน เดอะ สกาย วิธ ไดมอนด์"
ของเดอะบีทเทิลส์ ซึ่งคณะผู้ค้นพบฟอสซิลเปิดฟังขณะจัดงานเลี้ยงฉลองความสำเร็จ 

การค้นพบกระดูกลูซี่ย์ ซึ่งเป็นมนุษย์โบราณกลุ่ม "โฮมินิด" ทำให้นักวิทยาศาสตร์
มีหลักฐานพิสูจน์ว่า บรรพบุรุษมนุษย์เดิน 2 ขา แยกสายพันธุ์ออกจากกันอย่างชัดเจน
จากลิงวานรและสัตว์คล้ายมนุษย์พวก "โอมินอยด์" 

ถึงแม้ ซีแลม จะมีอายุมากกว่าลูซี่ย์ แต่เมื่อเป็นฟอสซิลโครงกระดูกวัยเด็ก
จึงถูกเรียกว่า "ลูกของลูซี่ย์" ไปโดยปริยาย



หลักฐานพัฒนาการสมอง 


เฟร็ด สปรู นักวิชาการจากมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน (ยูซีแอล) สมาชิกทีม
ค้นพบ ซีแลม กล่าวว่า 

สภาพกะโหลกและโครงสร้างใบหน้าของ ซีแลม สมบูรณ์ดีมาก โดยกะโหลก
ส่วนครอบสมองยังอยู่ครบถ้วน ใบหน้าของ ซีแลม ใหญ่พอๆ กับลิง และจะเป็นกุญแจสำคัญ
ช่วยให้เราเข้าใจวิวัฒนาการของบรรพบุรุษมนุษย์ดีขึ้น 




จากการวิเคราะห์เบื้องต้น พบว่า สมองของ ซีแลม มีพัฒนาการช้ากว่าลิง "ชิมแพนซี" ทั่วไป
 นั่นหมายความว่า สมองของ ซีแลม อาจอยู่ในขั้นพัฒนาอย่างช้าๆ เหมือนสมองเด็กยุคปัจจุบัน
เพื่อเพิ่มความสามารถในการทำงานของระบบประสาท
ที่สลับซับซ้อนมากขึ้น! 

อย่างไรก็ตาม สมองของเอ. อะฟาเรนซิส วัยผู้ใหญ่ จะมีขนาดใหญ่กว่าสมอ
งชิมแพนซีเล็กน้อย ฟอสซิล ซีแลม แสดงให้เห็นเช่นกันว่า
บรรพบุรุษมนุษย์กลุ่มเอ. อะฟาเรนซิส เดิน 2 ขาในแนวเหยียดตรง 

แต่โครงสร้างกระดูกส่วนบน รวมถึงช่วงหัวไหล่ยังคงมีความคล้ายคลึงกับ
 "กอริลลา" ซึ่งตีความได้ว่า บรรพบุรุษมนุษย์เราในยุค 3 ล้านกว่าปีก่อน
ยังเคลื่อนตัวไปสถานที่ต่างๆ ด้วยการห้อยโหนต้นไม้บ้างบางเวลา 

"ข้อมูลที่ได้จาก ซีแลม ในขณะนี้น่าตื่นเต้นมากและคงสร้างข้อถกเถียง
ในวงวิชาการอย่างกว้างขวางต่อไป" สปรู กล่าว 


จิ๊กซอว์"วิวัฒนาการมนุษย์" 

ทีมงานของดร.เซเรเซเนย์ เริ่มค้นพบเศษซากฟอสซิล ซีแลม เป็นครั้งแรก
ในทะเลทรายดิคิกา ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเอธิโอเปีย ตั้งแต่วันที่ 10ธันวาคม2543 





ริค พ็อตส์ นักวิชาการสถาบันสมิธโซเนียน สถาบันทางด้านประวัติศาสตร์ธรรมชาติชื่อดังของโลก
 กล่าวว่าการขุดพบฟอสซิล ซีแลม ช่วยตอกย้ำแนวคิดที่ว่า วิวัฒนาการสายพันธุ์ของมนุษย์
ไม่ได้แยกขาด-ข้ามจาก "ลิงไร้หาง" (เอพ) มาเป็น "มนุษย์" แบบทันทีทันใด ยิ่งเราค้นพบ
ฟอสซิลมนุษย์โบราณมากขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้รู้ว่าอวัยวะ-ระบบการทำงานของร่างกาย
แต่ละส่วนค่อยๆ วิวัฒนาการตัวของมันเองไปตามแต่ละช่วงเวลา หรืออาจกล่าวได้ว่า
บรรพบุรุษช่วงต้นของมนุษย์ มีลักษณะ "กึ่งมนุษย์-กึ่งเอพ" 

โดนัลด์ โจฮันสัน อาจารย์มหาวิทยาลัยอะริโซน่า ผู้ค้นพบฟอสซิล ลูซี่ย์
แสดงความยินดีกับการค้นพบฟอสซิล ซีแลม โดยระบุว่า 

"เราไม่เคยพบฟอสซิลแบบครบชุดขนาดนี้มาก่อน และหวังว่าฟอสซิลใหม่
จะช่วยให้เรามีหลักฐานศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับการเจริญเติบโตและวิวัฒนาการ
ของบรรพบุรุษมนุษย์สายพันธุ์นี้" 



ลำดับวิวัฒนาการมนุษย์ คร่าวๆ มีดังนี้ 

6.5 ล้านปีก่อน : บรรพบุรุษมนุษย์ยุคเริ่มต้นแยกวงศ์หรือสายพันธุ์ออกมา
จากชิมแพนซีและกอริลลา แต่ยังมีลักษณะของลิงไร้หาง (เอพ) หลงเหลืออยู่ 

5.8 ล้านปีก่อน : บรรพบุรุษมนุษย์อายุเก่าแก่ที่สุด ออร์โรริน ทูเกเนนซิส
ที่คาดว่าเดิน 2 ขาได้ 

4 ล้านปีก่อน : บรรพบุรุษมนุษย์ออสตราโลพิเทคัส อะฟาเรนซิส มีสมองพอๆ
 กับชิมแพนซี เริ่มมีฟันเคี้ยวของแข็ง 

2.5 ล้านปีก่อน : "โฮโม ฮาบิลลิส" เป็นต้นตระกูลจีนัสมนุษย์ยุคใหม่ เริ่มรู้จักใช้เครื่องมือ 

1.8 ล้านปีก่อน : มนุษย์ "โฮโม อิเร็กตัส" ตั้งถิ่นฐานในเอเชีย 

2.3 แสนปีก่อน : ยุคของมนุษย์นีแอนเดอร์ทัล 

1.95 แสนปีก่อน : "โฮโม ซาเปี้ยน" บรรพบุรุษมนุษย์ยุคปัจจุบัน 

จากนั้นต้องใช้เวลาเกือบ 6 ปี กว่าจะสามารถขุดและร่อนกรองฟอสซิลออกมา
จากชั้นหินทรายโดยสมบูรณ์ และได้รับเงินสนุบสนุนการศึกษาจากหลายองค์กร 

                      วีดีโอเรื่องวิวัฒนาการของมนุษย์



                                                                             



                        *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น